FreeWave Book
 

Illustrations, Art, Comic, and my life.

Monday, November 01, 2004

Thailand Animation and Multimedia 2005 Contest

I'm interested in 2 of the 3 contests here

หลักการและเหตุผล

ในปัจจุบันสื่อดิจิตอล (Digital Content) เป็นสื่อที่เข้าถึงได้กับคนทุกระดับ ทุกเพศและทุกวัย เป็นสื่อที่ดึงดูดความสนใจของคนดูหรือคนที่รับรู้ รับฟังเป็นอย่างมาก Digital content ที่ได้รับความนิยมมากอย่างหนึ่งคือ ผลงานแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย (Animation & Multimedia) ซึ่งเป็นผลที่เกิดจากการใช้คอมพิวเตอร์สร้างสรรค์งานศิลปะไว้ในรูปแบบหลายสื่อ รวมทั้งสื่อที่เป็นภาพเคลื่อนที่ ทั้งแบบสองมิติ (2D) และสามมิติ (3D) Digital content เป็นการสร้างสรรค์ที่ใช้จินตนาการของคนผสมกับเทคโนโลยีซอฟต์แวร์ Digital content ในยุคปัจจุบัน ได้กลายเป็นส่วนสำคัญของธุรกิจเกือบทุกชนิด ตั้งแต่ธุรกิจการค้าการขาย ธุรกิจบันเทิง การศึกษา โฆษณา และอื่น ๆ

สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ซึ่งมีหน้าที่พัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ในประเทศและผลักดันเพื่อให้เกิดการส่งออกในการสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ กำหนดจัดงาน TAM 2005 (Thailand Animation & Multimedia 2005) ขึ้นในวันที่ 6 - 9 มกราคม 2548 หลังจากประสบความสำเร็จอย่างสูงในการจัดงาน TAM 2004 ซึ่งถือเป็นการจัดงานเกี่ยวกับแอนิเมชั่นเป็นครั้งแรกและได้รับความสนใจจากประชาชนเป็นอันมาก โดยการจัดงานในครั้งนี้ มีจุดมุ่งหมายเพื่อที่จะช่วยส่งเสริมและผลักดันเด็ก เยาวชนและนักศึกษา และผู้สนใจทั่วไปให้หันมาสนใจงานแอนิเมชั่นและมัลติมีเดียมากขึ้น และส่งเสริมผู้ประกอบการทางด้านนี้อย่างจริงจัง อันจะเป็นแนวทางในการพัฒนาศักยภาพของบุคลากรของประเทศต่อไป

และเพื่อเป็นการสานต่อโครงการดังกล่าวข้างต้นให้ต่อเนื่อง สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) จึงจัดให้มีการประกวดผลงานแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย โดยจัดแบ่งเป็น 3 ประเภท คือ
1. การประกวด Character Design
2. การประกวดการ์ตูนช่อง (Comics)
3. การประกวด Short Animation

และจัดกิจกรรมเสริมสร้างความรู้ความเข้าใจและสามารถพัฒนาศักยภาพจนกลายเป็นมืออาชีพได้ในอนาคต การประกวดที่จะจัดในครั้งที่สองนี้ เพื่อคัดเลือกและค้นหาเด็ก เยาวชนและผู้สนใจทั่วไปที่มีพรสวรรค์ มีความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการได้ฝึกฝนฝึกหัดฝีมือให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่องและสามารถแข่งขันในระดับสากลได้ ตามเจตนารมณ์ของ ฯพณฯ รัฐมนตรีที่ประกาศว่า “จะทำให้เมืองไทยเป็นฮอลลีวู้ดแห่งเอเชีย”

วัตถุประสงค์โครงการ
1. เพื่อเป็นการฝึกหัดฝีมือและเป็นการค้นหาผู้ที่มีพรสวรรค์ เพื่อจะได้พัฒนาเป็นนักพัฒนาด้านแอนิเมชั่นและมัลติมีเดียที่ดีต่อไปในอนาคต
2. เพื่อกระตุ้นให้เด็ก เยาวชน และบุคคลทั่วไปตื่นตัว ต่อการเรียนรู้และสนใจ งานด้านแอนิเมชั่นและมัลติมีเดีย
3. เพื่อส่งเสริมและสนับสนุน การพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการด้านแอนิเมชั่นและมัลติมีเดียให้แก่เด็ก เยาวชนและบุคคลทั่วไป
4. เพื่อให้เป็นกิจกรรมที่สอดคล้องในการพัฒนาอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์ด้านแอนิเมชั่นและมัลติมีเดียที่ให้เด็กเยาวชนและบุคคลทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วม
5. เพื่อนำผลงานที่เข้ารอบสุดท้ายไปสร้างเป็นหนังสือการ์ตูน และทีวีแอนิเมชั่นเพื่อเผยแพร่ทางสื่อต่างๆ ซึ่งเป็นการยกระดับการแสดงผลงานประกวดให้ออกสู่ตลาดจริง
6. เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของเด็ก เยาวชน และประชาชน ทางด้าน e-Education และ e-Society ตามแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร 2010

ผลที่คาดว่าจะได้รับ
1. เด็ก เยาวชนและบุคคลทั่วไปมีการฝึกหัดฝีมือและเป็นการค้นหาผู้ที่มีพรสวรรค์ เพื่อจะได้พัฒนาเป็นนักพัฒนาด้านแอนิเมชั่นและมัลติมีเดียที่ดีต่อไปในอนาคต
2. เด็ก เยาวชนและบุคคลทั่วไปเกิดความสนใจ เรียนรู้และเพิ่มพูนความรู้ความเข้าใจในอุตสาหกรรมด้านแอนิเมชั่นและมัลติมีเดียมากยิ่งขึ้น
3. เด็ก เยาวชนและบุคคลทั่วไป ได้ใช้เวลาว่างให้เกิดประโยชน์ พัฒนาความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ มีส่วนร่วมในการส่งผลงานหรือชิ้นงานด้านแอนิเมชั่นและมัลติมีเดียเข้าร่วมประกวดและพัฒนาผลงานของตนเองให้ดียิ่งขึ้น
4. ทำให้เกิดการ กระตุ้น ส่งเสริม สนับสนุน พัฒนาและผลักดัน ให้เกิดการตื่นตัวต่อการประกอบอาชีพด้านแอนิเมชั่นและมัลติมีเดียมากขึ้น

รายละเอียดการประกวด
แบ่งตามประเภทการประกวด ได้ 3 ประเภท ดังนี้
1. การประกวด Character Design
2. การประกวดการ์ตูนช่อง (Comics)
3. การประกวด Short Animation

1. การประกวด Character Design

ชื่อโครงการประกวด โครงการประกวด Character Design (หัวข้ออิสระเชิงสร้างสรรค์)

ลักษณะของ Character Design เป็นการออกแบบตัวละครหรือตัวการ์ตูน จำนวน 1 ตัว

กลุ่มเป้าหมาย
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) นักเรียน 2) นักศึกษา และ บุคคลทั่วไป - ผู้ผลิตผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะต้องเป็นผู้ถือสัญชาติไทย
- ผู้ที่สนใจสามารถออกแบบ Character Design แบบสี ทั้งภาพด้านหน้าและด้านข้าง ลงบนกระดาษ A4 โดยไม่จำกัดการนำเสนอผลงาน จะเป็นภาพวาด หรือ พิมพ์สีจากเครื่องคอมพิวเตอร์ พร้อมบอกชื่อตัวการ์ตูน และ อธิบายแนวคิดตัวการ์ตูน ประมาณ 1 หน้า โดยไม่ลอกเลียนลิขสิทธิ์ผู้อื่นมา
- ผลงานที่ส่งเข้ามาร่วมประกวด จะถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างผู้ผลิตผลงานนั้นๆ กับ สำนักงาน SIPA โดย SIPA ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานดังกล่าว ตามแต่เห็นสมควร

สถานที่ส่งผลงาน
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ชั้น 11 อาคาร 9, บมจ. ทศท คอร์ปอเรชั่น ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 0-2554-0400 โทรสาร 0-2554-0401

วันที่ส่งผลงาน
วันที่ 15 ตุลาคม – 20 ธันวาคม 2547

วันที่ตัดสิน
วันที่ 9 มกราคม 2548

สถานที่ตัดสินและแสดงผลงานรอบตัดสิน
งาน Thailand Animation & Multimedia 2005 (TAM 2005), จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คณะกรรมการตัดสิน

คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากบริษัทชั้นนำด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก มัลติมีเดีย และแอนิเมชั่นของเมืองไทย และในรอบตัดสิน จะมีประชาชนที่เข้าชมผลงานร่วมให้คะแนนด้วย

การพิจารณาคะแนน แบ่งเป็น 3 หมวด คือ
- ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 40%
- ความสวยงาม (Graphic) 30%
- ลักษณะของตัวละคร (Characteristic) 30%

รางวัล
รางวัลที่ 1 เงินสด 50,000 บาท พร้อมโล่ห์เกียรติยศ จำนวน 2 รางวัลและตัวละครที่ออกแบบมาจะได้รับการนำเสนอในสื่อต่างๆ
รางวัลที่ 2 เงินสด 30,000 บาท พร้อมโล่ห์เกียรติยศ จำนวน 2 รางวัลและตัวละครที่ออกแบบมาจะได้รับการนำเสนอในสื่อต่างๆ
รางวัลที่ 3 เงินสด 20,000 บาท พร้อมโล่ห์เกียรติยศ จำนวน 4 รางวัลและตัวละครที่ออกแบบมาจะได้รับการนำเสนอในสื่อต่างๆ

การดำเนินการต่อเนื่อง
ผลงานที่ชนะการประกวดทั้ง 3 อันดับ จะถูกนำไปจัดโชว์ยังงานนิทรรศการที่เกี่ยว ข้องภายในประเทศ และ ตีพิมพ์ในวารสารของ SIPA

2. การประกวดการ์ตูนช่อง (COMICS)

ชื่อโครงการประกวดโครงการประกวดการ์ตูนช่อง (หัวข้ออิสระเชิงสร้างสรรค์)

ลักษณะของการ์ตูนช่องเป็นการผูกเรื่องสั้นๆ โดยใช้ตัวการ์ตูนหรือตัวละครที่สร้างขึ้นมา แล้วนำมาใส่ลงในช่องที่กำหนดไว้

กลุ่มเป้าหมาย
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
1) นักเรียน
2) นักศึกษา และ บุคคลทั่วไป

กติกาและเงื่อนไข
- ผู้ผลิตผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะต้องเป็นผู้ถือสัญชาติไทย
- ผู้ที่สนใจสามารถออกแบบการ์ตูนช่อง โดยไม่จำกัดการนำเสนอผลงาน ซึ่งสามารถวาดภาพเป็น ขาว-ดำ หรือ สี ในหัวข้ออิสระเชิงสร้างสรรค์ ลงบนกระดาษ A4 จำนวน 4 – 6 หน้ากระดาษ โดยสามารถดูจำนวนช่องตามตัวอย่างที่แนบมา
- ผลงานที่ส่งเข้ามาร่วมประกวด จะถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างผู้ผลิตผลงานนั้นๆ กับ สำนักงาน SIPA โดย SIPA ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานดังกล่าว ตามแต่เห็นสมควร

สถานที่ส่งผลงาน
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ชั้น 11 อาคาร 9, บมจ. ทศท คอร์ปอเรชั่น ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 0-2554-0400 โทรสาร 0-2554-0401

วันที่ส่งผลงาน
วันที่ 15 ตุลาคม ถึง วันที่ 20 ธันวาคม 2547

วันที่ตัดสิน
วันที่ 9 มกราคม 2548

สถานที่ตัดสินและแสดงผลงานรอบตัดสิน
งาน Thailand Animation & Multimedia 2005 (TAM 2005), จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คณะกรรมการตัดสิน
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากบริษัทชั้นนำด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก มัลติมีเดีย และแอนิเมชั่นของเมืองไทย และในรอบตัดสิน จะมีประชาชนที่เข้าชมผลงานร่วมให้คะแนนด้วย

การพิจารณาคะแนนแบ่งเป็น 3 หมวด คือ
- ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 30%
- รูปแบบความต่อเนื่อง และ สวยงาม (Continuity & Graphic) 30%
- บทเนื้อหา (Story Concept) 40%

รางวัล
รางวัลที่ 1 เงินสด 50,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 2 รางวัลและผลงานจะได้รับการนำเสนอในสื่อต่างๆ
รางวัลที่ 2 เงินสด 30,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 4 รางวัลและผลงานจะได้รับการนำเสนอในสื่อต่างๆ
รางวัลที่ 3 เงินสด 20,000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 4 รางวัลและผลงานจะได้รับการนำเสนอในสื่อต่างๆ

การดำเนินการต่อเนื่อง
ผลงานที่ชนะการประกวดทั้ง 3 อันดับ จะถูกนำไปจัดแสดงภายในงานนิทรรศการที่เกี่ยวข้องในประเทศและตีพิมพ์ในวารสารของ SIPA

3. การประกวด Short Animation

ชื่อโครงการประกวด โครงการประกวด Short Animation ในหัวข้ออิสระเชิงสร้างสรรค์

ลักษณะของ Short Animation
เป็นการสร้างภาพการ์ตูนเคลื่อนไหวชุดสั้นๆ แบบจบในตอน โดยมีความยาวไม่เกิน 2 นาที

กลุ่มเป้าหมาย
แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) นักศึกษา 2) บุคคลทั่วไป หรือ ระดับอาชีพ

กติกาและเงื่อนไข
- ผู้ผลิตผลงานที่ส่งเข้าประกวด จะต้องเป็นผู้ถือสัญชาติไทย
- ผู้ที่สนใจสามารถออกแบบงานภาพเคลื่อนไหว (Animation) ซึ่งสามารถใช้เทคนิคได้อิสระ ในหัวข้ออิสระเชิงสร้างสรรค์ มีความยาวของเนื้องานประมาณ 2 นาที แล้วส่งผลงานในรูปแบบของแผ่น CD (MPEG1, MPEG2, or MPEG4) / VCD / DVD Resolution (PAL or NTSC Standard) พร้อมคำอธิบายไม่เกิน 1 หน้ากระดาษ A4
- ผลงานที่ส่งเข้ามาร่วมประกวด จะถือเป็นลิขสิทธิ์ร่วมระหว่างผู้ผลิตผลงานนั้นๆ กับ สำนักงาน SIPA โดย SIPA ขอสงวนสิทธิ์ในการเผยแพร่ผลงานดังกล่าว ตามแต่เห็นสมควร

สถานที่ส่งผลงาน
สำนักงานส่งเสริมอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน)
ชั้น 11 อาคาร 9, บมจ. ทศท คอร์ปอเรชั่น ถ.แจ้งวัฒนะ กรุงเทพมหานคร
โทรศัพท์ 0-2554-0400 โทรสาร 0-2554-0401

วันที่ส่งผลงาน
วันที่ 15 ตุลาคม ถึง วันที่ 20 ธันวาคม 2547

วันที่ตัดสิน
วันที่ 9 มกราคม 2548

สถานที่ตัดสินและแสดงผลงาน
งาน Thailand Animation & Multimedia 2005 (TAM 2005), จังหวัดกรุงเทพมหานคร

คณะกรรมการตัดสิน
คณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากบริษัทชั้นนำด้านคอมพิวเตอร์กราฟิก มัลติมีเดีย และแอนิเมชั่นของเมืองไทย

การพิจารณาคะแนน แบ่งเป็น 5 หมวด คือ
1) บทเนื้อหา (Story Concept) 20%
2) การเล่าเรื่อง (Story Telling) 20%
3) ความคิดสร้างสรรค์ (Creativity) 20%
3) ความสวยงาม (Graphic) 20%
5) ความสมบูรณ์ของภาพและเสียง 20%

รางวัลของนักศึกษา
รางวัลที่ 1 เงินสด 50,000 บาท พร้อมโล่ห์เกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล
รางวัลที่ 2 เงินสด 30,000 บาท พร้อมโล่ห์เกียรติยศ จำนวน 2 รางวัล
รางวัลที่ 3 เงินสด 20,000 บาท พร้อมโล่ห์เกียรติยศ จำนวน 4 รางวัล
หมายเหตุ ผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับการนำเสนอในสื่อต่างๆ

รางวัลของบุคคลทั่วไป หรือ ระดับอาชีพ
รางวัลที่ 1 เงินสด 75000 บาท พร้อมโล่เกียรติยศ จำนวน 1 รางวัล
รางวัลที่ 2 เงินสด 45,000 บาท พร้อมโล่ห์เกียรติยศ จำนวน 2 รางวัล
รางวัลที่ 3 เงินสด 30,000 บาท พร้อมโล่ห์เกียรติยศ จำนวน 4 รางวัล
หมายเหตุ ผลงานที่ได้รับรางวัลจะได้รับการนำเสนอในสื่อต่างๆ

การดำเนินการต่อเนื่อง
ผลงานที่ชนะการประกวดทั้ง 3 อันดับ จะถูกนำไปจัดแสดงภายในงานนิทรรศการที่เกี่ยวข้องในประเทศและต่างประเทศ

2 Comments:

Anonymous said...

สนใจเหรอ ?

1:27 AM

 
Yongkiat said...

Yes, I'm interested...only if I can free myself to do it :(

8:41 AM

 

Post a Comment

<< Home